top of page

เรียน SAT/ติว SAT MATH : จะเจออะไรในข้อสอบ SAT MATH บ้าง? (ฉบับเจาะลึก ละเอียดยิบ ทุกซอกทุกมุม!!)

ขั้นตอนแรกของการเริ่มเรียน SAT/ติว SAT MATH เลยก็คือ การทำตัวเองให้คุ้ยเคยกับข้อสอบ SAT มากที่สุด ฉะนั้น ก่อนจะเริ่ม ให้พี่ๆ อธิบายรูปแบบของข้อสอบ SAT MATH อีกซักรอบก่อน


เรียน SAT ติว SAT
เรียน SAT ติว SAT

รูปแบบของข้อสอบ SAT MATH

ข้อสอบ SAT จะประกอบไปด้วย 4 Sections โดย 2 Sections แรกคือ Reading และ Writing และจะตามมาด้วย Section ที่ 3 คือ Math (No Calculator) และ Section สุดท้าย คือ Math (Calculator)


SAT MATH (No Calculator)

  • จำนวนคำถาม รวม 20 ข้อ

  • เวลารวม 25 นาที


SAT MATH (Calculator)

  • จำนวนคำถาม รวม 38 ข้อ

  • เวลา รวม 55 นาที

Total

  • จำนวนคำถามทั้งหมด 58 ข้อ

  • เวลารวม 80 นาที

 

SAT MATH มีคำถามกี่ประเภท?

ลักษณะของคำถาม ของข้อสอบ SAT MATH ทั้งสอง Section จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบ Multiple Choices และ Grid-ins

  1. Multiple-Choice Questions คือ คำถามแบบมี Choice (ตัวเลือก) ให้เลือกทั้งหมด 4 Choice

  2. Grid-ins คือ คำถามแบบเติมคำ ที่น้องๆ จะต้องเขียนคำตอบและ ฝนคำตอบของน้องลงไปในกระดาษคำตอบ

Multiple-Choice and Grid-In Questions


ในบรรดาข้อสอบ SAT MATH ทั้งหมด 58 ข้อ จะถูกแบ่งเป็น ข้อสอบ Multiple Choice 45 ข้อ และข้อสอบ Grid-in 13 ข้อ หน้าตาของ Answer Sheet ในพาร์ท Grid-in จะเป็นตามรูปด้านล่าง น้องๆไม่ต้องแสดงวิธีทำให้ดู แต่ให้ใส่คำตอบลงในช่องที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งฝนคำตอบลงไปด้วย


เรียน SAT ติว SAT

ข้อดีของข้อสอบ SAT MATH คือข้อสอบจะเรียงจากข้อง่ายไปหาข้อยากเอาไว้ให้แล้ว ข้อแรกคือข้อที่ง่ายที่สุด และจะค่อยๆเพิ่มความยากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ข้อสอบ Grid-in จะเป็นถูกจัดให้เป็น 5 ข้อสุดท้ายของ พาร์ท No Calculator และ 8 ข้อสุดท้ายของพาร์ท Calculator เสมอ จึงเป็นที่รู้กันว่า ข้อ Grid-ins จะเป็นข้อยากนั่นเอง

 

ข้อสอบ SAT MATH ให้อะไรมาบ้าง?

สิ่งที่ SAT MATH ให้มาบนหน้าแรกของข้อสอบ คือสูตรเหล่านี้ น้องๆ สามารถเปิดกลับมาดูได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกำลังสอบอยู่ Section ใดก็ตาม


เรียน SAT ติว SAT

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเวลาที่มีจำกัด การพลิกไปมา เพื่อดูสูตรอาจทำให้น้องเสียเวลากว่าเดิม ทางที่ดีพี่ๆ KPH แนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ ให้น้องๆ จำสูตรเหล่านั้นไปก่อนล่วงหน้าเลย เพื่อลดเวลาในการพลิกดูสูตร มีเวลาเพิ่มขึ้นในการแก้โจทย์


นอกจากนั้น สูตรที่ให้มาคือสูตร Geometry แต่ Geometry ออกข้อสอบน้อยกว่า 10% ของหัวข้อทั้งหมด ไม่ใช่เนื้อหาส่วนที่ออกหลักๆ พี่ๆเลยอยากเตือนไว้ล่วงหน้า ว่าอย่าประมาทจะพึ่งแต่สูตรที่ให้มาบนข้อสอบอย่างเดียวไม่ได้

 

เรียน SAT MATH ควรเตรียมตัวเรื่องอะไรบ้าง?


พี่จะแบ่ง เนื้อหาทั้งหมดออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ด้วยกัน จะมี Algebra, Data Analysis และ Geometry ซึ่งเดี๋ยวพี่จะค่อยๆ อธิบายให้ฟังในแต่ละส่วน


Algebra

Algebra คือส่วนที่ออกเยอะที่สุดของข้อสอบ SAT Math ทั้งหมด คิดเป็น 60% หรือประมาณ 33-40 ข้อ จากทั้งหมด 58 ข้อ ถ้าน้องๆ ทำข้อสอบในหัวข้อ Algebra. ได้ครบทุกข้อ คะแนน SAT ของน้องจะอยู่ที่ ประมาณ 570-630 ซึ่งน้องๆ คนไหนที่ตั้งเป้าหมายไว้ไม่สูงมากนัก อยากได้คะแนนอยู่ที่ 600 น้องๆ สามารถ focus ที่หัวข้อนี้ หัวข้อเดียวได้เลย เพียงหัวข้อเดียวก็เพียงพอให้น้องได้คะแนนตามเป้าหมายแล้ว แต่ถ้าหากน้องๆตั้งเป้าหมายเอาไว้สูงกว่านี้ น้องต้อง focus ที่หัวข้ออื่นเพิ่มขึ้นมาด้วย


และหากน้องๆ จะเริ่มเรียนSAT Math พี่แนะนำให้น้องๆ เริ่มที่หัวข้อนี้เป็นหัวข้อแรก หรือแม้กระทั่งเวลาที่น้องๆ จะทวนเนื้อหา ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนสอบ ก็ให้ทวนที่หัวข้อเป็นอันดับแรกเช่นกัน เพราะข้อสอบ SAT ออกแน่นอน และออกเยอะมาก


อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ Algebra เป็นเรื่องใหญ่ จึงมีหัวข้อย่อยๆ ให้ต้องเรียนรู้ค่อนข้างเยอะ หัวข้อย่อยจะมีตามที่ลิสต์ไว้ด้านล่างนี้เลย


I. Linear

Official Topics :

  • Solving Linear Equations and Word Problems : แก้สมการเส้นตรง ตัวแปรเดียว และโจทย์ปัญหา

  • Solving System of Linear Equations and Word Problems : การแก้ระบบสมการเส้นตรง หรือสมการเส้นตรงที่มี 2 ตัวแปร และโจทย์ปัญหา

  • Linear Function : การวาดกราฟเส้นตรง และการตีความ

  • Linear Inequalities and Word Problems : การแก้อสมการ และโจทย์ปัญหาอสมการ

  • Solving Systems of Linear Inequalities and Word Problems : การแก้ระบบอสมการ และโจทย์ปัญหาการแก้ระบบอสมการ


Summary of Task

  • สิ่งที่น้องต้องทำได้ในหัวข้อนี้ คือการฝึกแก้สมการ หาค่าของตัวแปร ทั้งแบบมีตัวแปรตัวเดียว (x) และแบบ 2 ตัวแปร (x,y)

  • สามารถอ่านโจทย์ แปลโจทย์ ตีความ วิเคราะห์และตั้งออกมาเป็นสมการได้ และแก้หาคำตอบได้

  • เข้าใจรูปแบบของกราฟเส้นตรง สามารถสร้างสมการเส้นตรงได้จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา และสามารถวาดกราฟได้

  • สามารถแแก้อสมการ หา set คำตอบของตัวแปร ได้ทั้งแบบ ตัวแปรเดียว (x) และแบบ 2 ตัวแปร (x,y)


II. Quadratic and Expo

Official Topics

  • Solving Quadratic Equations : การแก้สมการกำลังสอง

  • Quadratic Function : การวาดกราฟ Quadratic

  • Radical and Rational Exponent : เลขยกกำลัง และรูท

  • Polynomials : พหุนาม

  • Exponential Equation : การแก้สมการ Exponential

  • Exponential Function : การวาดกราฟ Exponential


Summary of Task

  • สิ่งที่น้องต้องทำได้ในหัวข้อ Quadratic ก็คือ การฝึกแก้สมการหาค่าตัวแปร (x) ออกมาให้ได้

  • เข้าใจรูปแบบของสมการกำลังสอง สามารถสร้างสมการกำลังสองได้จากข้อมูลที่โจทย์ให้ และสามารถนำไปวาดเป็นกราฟได้

  • บวก ลบ คูณ หาร พหุนาม เลขยกกำลัง รูทได้

  • สามารถแก้สมการ Exponential Equation หาค่าตัวแปรได้ (x)

  • สามารถตั้งสมการ Exponential จากข้อมูลที่โจทย์ให้ และนำไปวาดเป็นกราฟ Exponential ได้


III. Others

Official Topics

  • Absolute Equation/Inequalities : การแก้สมการ และ อสมการ Absolute

  • Translate and Reflect : การเลื่อนและการสะท้อนกราฟ


Summary of Task

  • สามารถอ่านโจทย์และตั้งสมการ หรือ อสมการ Absolute ได้ และสามารถแก้โจทย์หาค่าตัวแปร (x) ได้

  • สามารถวาดรูปกราฟ เปลี่ยนแปลงกราฟได้ ในกรณีที่โจทย์กำหนดการเปลี่ยนแปลงลงในสมการนั้นๆ



Data Analysis


หัวข้อ Data Analysis จะออกข้อสอบ เยอะเป็นอันดับสองรองลงมาจากเรื่อง Algebra คิดเป็น 30% ของจำนวนข้อทั้งหมด หรือ ประมาณ 17-20 ข้อ จากทั้งหมด 58 ข้อ ถ้าน้องๆ สามารถ ทำได้คะแนนใน หัวข้อ Algebra และ Data Analysis ได้ถูกทั้งหมดคะแนนของน้องจะอยู่ที่ประมาณ 670-730 ซึ่งน้องคนไหนที่ตั้งเป้าคะแนนเอาไว้ที่ระดับ 700 น้องสามารถ Focus ที่ 2 หัวข้อนี้ได้เลย โดยไม่ต้องสนใจหัวข้ออื่น เพราะ2 หัวข้อนี้เพียงพอให้น้องได้คะแนนตามที่ต้องการ


การเตรียมตัว เรียน SAT ให้น้องๆ ไปเริ่มต้นที่ Algebra ก่อน และตามมาด้วยหัวข้อ Data Analysis ทีหลัง โดยไล่จากเรื่องที่ออกเยอะที่สุดก่อน


ถึงแม้หัวข้อ Data Analysis จะออกสอบไม่เยอะเท่ากับ Algebra แต่หัวข้อย่อยๆที่อยู่ในเนื้อหาส่วนนี้ ไม่ได้ง่ายไปกว่ากันเลย


Topics

  • Ratios, rates, and proportions : อัตราส่วน สัดส่วน

  • Percents : การคิดเปอร์เซนต์

  • Units : การเปลี่ยนหน่วย

  • Table data : การอ่านตาราง กราฟ chart ต่างๆ

  • Statistics : สถิติ

  • Probability : ความน่าจะเป็น

Summary of Task

  • น้องๆ ต้องสามารถอ่านโจทย์ เข้าใจ ตีโจทย์ ตั้งสมการ และแก้สมการ ที่เกี่ยวกับเรื่อง เปอร์เซนต์ อัตราส่วน สัดส่วน ให้ได้

  • สามารถอ่านตาราง ทำความเข้าใจตาราง กราฟ และ Chart รูปแบบต่างๆ และสามารถวิเคราะห์ตาราง และตอบคำถามในสิ่งที่โจทย์ต้องการได้อย่างถูกต้อง

  • สามารถนำข้อมูลที่โจทย์ให้มา มาวิเคราะห์ในเชิงสถิติ ความน่าจะเป็น หาค่ากลาง และ การเบี่ยงเบนของข้อมูลได้

Additional Topics in Math

ในหัวข้อสุดท้าย Additional Topics in Math คือจะรวมเอาเรื่องจิปาถะ เล็กๆ น้อยๆ มารวมไว้ในส่วนนี้ทั้งหมด คิดเป็น 10% ของจำนวนข้อทั้งหมด หรือ คิดเป็น 6-8 ข้อจากทั้งหมด 58 ข้อ หากน้องๆ สามารถทำคะแนนทั้ง 3 หัวข้อได้เต็ม คะแนนน้องจะอยู่ 800 พอดี ซึ่งหากใครตั้งเป้าไว้ค่อนข้างสูง น้องต้องทำความเข้าใจกับทุกเรื่อง ทุกหัวข้อ นั่นเอง

เนื่องจากเป็นหัวข้อที่ออกข้อสอบน้อยที่สุด พี่ๆ จึงแนะนำให้ อ่านทบทวนหัวข้อนี้เป็นหัวข้อสุดท้าย

อย่างไรก็ตามถึงแม้หัวข้อนี้จะออกน้อย แต่จะมีสูตรที่น้องๆ ควรจำค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว


Topics

  • Lines and Angles : เส้นตรงและมุม

  • Triangle : สามเหลี่ยม

  • Circle : วงกลม

  • Quadrilateral : สี่เหลี่ยม

  • Area and Volume : พื้นที่และปริมาตร

  • Complex Number : จำนวนเชิงซ้อน

Summary of Task

  • น้องต้องเข้าใจทฤษฎีและสูตรที่เกี่ยวกับ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม พื้นที่ ปริมาตร และสามารถนำทฤษฎีและสูตรเหล่านั้นมาใช้แก้ หาความยาว มุม ด้าน ของรูปทรงที่โจทย์ให้มาได้

 

เรียน SAT/ติว SAT MATH ต้องทำโจทย์ประเภทไหนบ้าง?

KEY FEATURES ของข้อสอบ SAT MATH คืออะไร?


สิ่งที่น้องๆ ต้องทำถ้าคิดจะเรียน SAT /ติว SAT MATH เลยก็คือ น้องต้อง Make Sure ว่า น้องเข้าใจทุกหัวข้อที่กล่าวมาด้านบน และน้องต้องเตรียมตัวเตรียมใจที่จะเจอกับโจทย์ทุกรูปแบบ ทุกสไตล์ โจทย์ SAT MATH มีสไตล์อะไรบ้าง?

  1. Multiple-Step Problem สไตล์แรกที่น้องต้องเจอ คือ เป็นโจทย์ที่มีหหลายขั้นตอนในข้อเดียว สิ่งที่น้องต้องทำคือ คือหลังจากอ่านโจทย์เสร็จแล้ว “คิดถึงภาพรวม” ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำ การคิดถึงภาพรวมในที่นี้หมายถึง การคิด Step ทั้งหมด ก่อนว่าเราควรจะเริ่มที่จุดไหน ควรเริ่มหาอะไรก่อน และ จะทำอะไรเป็นอันดับสุดท้าย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่โจทย์ต้องการ

  2. Multiple-Topic / Multiple-Concept Problem สไตล์ที่สองคือ คือ เป็นโจทย์ที่มีหลาย Topic / Concept ในโจทย์ข้อเดียว หลายครั้งที่จะต้องมีการรวมเอา Theory หลายๆ Theory หรือ Formula มากกว่า 1 Formula เข้ามาใช้ในโจทย์หนึ่งข้อ สิ่งที่น้องต้องทำคือ หลังจากอ่านโจทย์เสร็จแล้ว ให้ “แยกแยะ” ก่อนว่า ข้อนี้ ควรอยู่ในหัวข้อไหน และหัวข้อนั้นๆ มี Theory หรือ Formula อะไร ที่จะนำมาใช้แก้โจทย์ข้อนี้ได้บ้าง

  3. Real-World Applications สิ่งที่ SAT MATH เน้นที่สุดเลยก็คือ คำถามทุกข้อที่อยู่ในข้อสอบ SAT จะต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริง Real World Practice ให้มากที่สุด คือ น้องอาจจะได้เจอสถานการณ์ตามคำถามในชีวิตจริงนั่นเอง เช่น ข้อสอบ SAT อาจจะบอกให้น้องคำนวณหา ปริมาณน้ำมันในรถยนตร์ของคุณพ่อ หรือ ให้เปลี่ยนหน่อยสกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน ตอนจะไปเที่ยว เป็นต้น คำถามส่วนใหญ่น้องจะได้เจอ ในชีวิตจริงๆ

 

No Calculator Section และ Calculator Section

ต่างกันอย่างไร?


ถ้าให้เปรียบเทียบกันระหว่าง สไตล์คำถามใน SAT MATH พาร์ท No Calculator กับ พาร์ท Calculator แล้วละก็ สไตล์คำถามก็ถือว่า ต่างกันค่อนข้างมากที่เดียว


SAT MATH : No Calculator Section

  • น้องจะไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขตลอด 25 นาที แต่ไม่ต้องเป็นห่วงเลย เพราะคำถามในพาร์ทนี้ น้องๆไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลขเลยก็ได้ การใช้เครื่องคิดเลขในข้อสอบ Part No Cal อาจจะทำให้น้องช้าลงด้วยซ้ำ

  • คำถามส่วนใหญ่ จะเน้นทดสอบ “ความเข้าใจพื้นฐาน” ในแต่ละ Concept ซะมากกว่า เน้นให้น้องอ่านโจทย์ที่ยังไม่ได้ยาวมากมาย

  • คำถามส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Single-Step คือ อ่านโจทย์ปุ๊ป สามารถทำให้เสร็จได้ภายในขั้นตอนเดียว ไม่ซับซ้อนมากนัก

  • คำถามส่วนใหญ่จะใช้ตัวเลขที่ค่อนข้าง Simple คือเป็นตัวเลขที่น้องๆ สามารถคิดในใจได้ แก้โจทย์ได้แม้ไม่มีเครื่องคิดเลข

SAT MATH : Calculator

  • น้องจะสามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ตลอด 55 นาที แต่อย่าพึ่งโล่งใจ เพราะนั่นหมายถึง การคิดเลขที่ยากขึ้น และหลายขั้นตอนมากขึ้น

  • คำถามส่วนใหญ่จะเน้น ทดสอบความสามารถใน “การคิดวิเคราะห์” อ่านโจทย์ที่ยาวขึ้น และซับซ้อนขึ้น (มาก)

  • คำถามส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Multiple-Step Problems และ Multiple-Concept Problems คือจะมีหลายขั้นตอน ใช้เนื้อหาจากหลายเรื่อง มาแก้โจทย์ข้อเดียว

  • คำถามส่วนใหญ่ จะใช้ตัวเลขที่ค่อนข้างยากขึ้น มีทั้ง เศษส่วน (Fraction) และทศนิยม (Decimal) ตัวเลขจะไม่เหมาะสำหรับการคิดในใจ

 

การใช้เครื่องคิดเลข

การใช้เครื่องคิดเลขเป็นเรื่องสำคัญ เครื่องคิดเลขที่อยู่ในมือของน้องจะไม่ช่วยให้คะแนนน้องดีขึ้น หากน้องใช้มันอย่างไม่ถูกวิธี การใช้เครื่องคิดเลขที่ถูกวิธีคืออะไร?


Know How to Use Calculator. น้องต้องใช้เครื่องคิดเลขให้เป็น

  • น้องต้องรู้จักเครื่องคิดเลขของตัวเองเป็นอย่างดี ไม่ว่าน้องจะใช้เครื่องคิดเลขรุ่นอะไรก็ตาม น้องต้องเรียนรู้ ว่าเครื่องคิดเลขของตัวเองทำอะไรได้บ้าง Function ที่จะได้ใช้ และ Function ไหนที่จะไม่ได้ใช้ และฝึกใช้ Function บนเครื่องคิดเลขให้คล่อง

Know When to Use Calculator. น้องต้องใช้มันในเวลาที่เหมาะสม

  • นอกจากรู้จักตัวเครื่องคิดเลขเป็นอย่างดีแล้ว น้องยังต้องรู้จักตัวเองอีกด้วย ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะใช้เครื่อง โจทย์สไตล์นี้เราคิดเองจะเร็วกว่า โจทย์สไตล์นั้นใช้เครื่องจะง่ายกว่า

“The Calculator is as smart as the person using it”

เครื่องคิดเลขฉลาดเท่าๆกับคนที่ใช้มันนั่นแหละ

 

เป็นยังไงกันบ้าง พี่ๆ KPH เจาะลึกข้อสอบ SAT MATH มาให้แบบละเอียดยิบ เจาลึกทุกอณู ทุกซอกทุกมุม ตอนนี้เห็นภาพข้อสอบ SAT MATH ทั้งหมด แล้วใช่มั้ย ถ้าใครยังไม่เห็น ก็เข้าไปดาวน์โหลดข้อสอบเอาของจริงไปดู กันให้เต็มตา และเตรียมตัวเตรียมใจลงมือเรียน SAT MATH ได้เลย!



ถ้าใครคิดว่า การเรียน SAT MATH เป็นเรื่องยาก มาหาพี่ๆ KPH ด่วนๆ พี่ๆ จะทำให้การเรียน SAT MATH เป็นเรื่องง่า่ย เรียนอย่างเป็นระบบ มีทิศทางชัดเจน คะแนนขึ้นรัวๆ อย่างแน่นอน แล้วเจอกันนะคะ

โทร : 064-954-7733

Line : @Krupimhouse


#เรียนSAT #ติวSAT #เรียนSATที่ไหนดี #ติวSATที่ไหนดี


Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
  • Line
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
bottom of page