top of page

College Admission 101 : Early Decision, Early Action, and Regular Decision

Updated: Feb 19

อยากเรียนต่ออเมริกา หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่สุดของการสมัครยื่นเข้า TOP US University คือ การเลือกว่าจะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยไหน และ track timeline ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งน้อง ๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ ว่าหลายๆ มหาวิทยาลัย มีทางเลือกเปิดโอกาสให้น้องยื่นสมัคร 2-3 แบบ ด้วยกัน คือ Early Action, Early Decision, และ Regular Decision.


ยิ่งถ้าน้องๆ อยากจะสมัครมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูงด้วยละก็ ต้องวางกลยุทธ์กันสักหน่อย สมัครแบบไหนจะเพิ่มโอกาสติดสูงสุด ได้เปรียบเหนือ applicant คนอื่น ดังนั้น ใน Blog นี้ พี่ๆ KPH จะมาอธิบายความแตกต่างระหว่าง 3 ทางเลือกนี้ให้ฟัง อย่ารอช้า! เลื่อนลงไปอ่านเลย


Early Decision, Early Action, Regular Decision
Early Decision, Early Action, Regular Decision

Early Decision (ED) 

คือ ช่วงการรับสมัคร ที่เปิดล่วงหน้า ก่อนการรับสมัครแบบทั่วไป (Regular Decision) น้องต้องสมัครเร็วกว่าปกติ เป็นการเปิดโอกาสให้น้องได้รับการพิจารณาก่อนเป็นอันดับแรกๆ จุดเด่นคือ เป็นการสมัครแบบ “binding” ซึ่งถ้าน้องติด น้องต้องเอา! ห้ามสละสิทธิ์! หากน้องติดในรอบ Early Decision น้องจะไม่มีโอกาสสมัครในรอบอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกต่อไป พูดง่ายๆ คือ เพื่อแลกกับโอกาสให้น้องได้รับการพิจารณาก่อนคนอื่น น้องต้องสัญญาว่าน้องจะไม่สละสิทธิ์ น้องไม่สามารถสมัครหลายๆ สถาบันพร้อมๆกันได้ น้องเลือกได้แค่ 1 สถาบัน เท่านั้น หากน้องไม่ติดในรอบ Early Decision น้องจะกลายเป็น “rejected” หรือ “deferred” applicants ทันที

 

  • Rejected applicants : น้องไม่สามารถสมัครได้อีกในปีนั้น ต้องรออีกทีปีถัดไป

  • Deferred applicants : น้องสามารถสมัครใหม่ได้อีกครั้งในรอบ regular decision และยังมีโอกาสสมัครกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้

การสมัครแบบ Early Decision เป็นการบอกกับทางมหาวิทยาลัยว่า น้องมีความสนใจ และตั้งใจจะเข้ามหาวิทยายาลัยนั้นจริงๆ Deadline สำหรับการสมัครรอบ Early Decision ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง November และจะประกาศผลในช่วง December


สรุป Key Characteristics ของ Early Decisions

  • สมัครได้ 1 สถาบันเท่านั้น

  • ได้รับการพิจารณาก่อนผู้สมัครคนอื่น

  • สละสิทธิ์ไม่ได้

  • หากติด ต้องหยุดการสมัครรอบอื่นๆ ทันที

 

Early Action (EA)

คือ ช่วงการรับสมัคร ที่เปิดล่วงหน้า จุดเด่นคือ เป็นการสมัครแบบ “non-binding” อธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าน้องติดในรอบ Early Action แล้วยังไม่พอใจกับสถาบันนี้ อยากได้สถาบันอื่น น้องสามารถ “สละสิทธิ์” ได้ ไม่มีปัญหาน้องๆ สามารถสมัคร Early Action กับหลายๆ มหาวิทยาลัยพร้อมๆกันได้ ซึ่งส่วนใหญ่ deadline การรับสมัคร Early Action และ Early Decision จะอยู่ในช่วงเดียวกัน คือช่วง November


สรุป Key Characteristics ของ Early Action

  • ได้รับการพิจารณาก่อนผู้สมัครอื่น

  • สมัครได้หลายสถาบันพร้อมกัน

  • สละสิทธิ์ได้

  • หากติด ยังสามารถไปยื่นรอบอื่น มหาวิทยาลัยอื่นได้อยู่


 

Regular Decision (RD)

คือ รอบทั่วไป ซึ่งเป็นรอบสุดท้าย ผู้สมัครส่วนใหญ่จะสมัครรอบนี้กัน จะคล้ายๆ กับ Early Action คือ หากติดสามารถสละสิทธิ์ เพื่อไปเอามหาวิทยาลัยอื่นได้ ดังนั้น น้องๆ สามารถสมัครได้หลายๆ สถาบันพร้อมกันในรอบนี้ ข้อดีของรอบ Regular Decision คือ มีเวลาเตรียมตัวนานกว่ารอบอื่นๆ มีเวลาทำคะแนน เขียน College Essay นานกว่า Deadline จะอยู่ในช่วงประมาณเดือน January


สรุป Key Characteristics ของ Regular Decision

  • สมัครได้หลายสถาบันพร้อมกัน

  • สละสิทธิ์ได้


 

Early Admission Strategies/ควรสมัครรอบไหน?

มหาวิทยาลัยที่เปิดรอบ Early Decision ส่วนใหญ่จะรับนักเรียนประมาณ 10% - 20% ของ นักเรียนที่จะรับทั้งหมด ดังนั้น เอาเข้าจริง สถาบันรับนักเรียนจากรอบ regular decision มากกว่า อย่างไรก็ตาม หลายๆ สถาบันเริ่มเปิดรับรอบ Early Decision มากขึ้น บางสถาบันถึงกับมี Early Decision 1 กับ Early Decision 2 กันเลยทีเดียว นั่นแปลว่า จำนวนนักเรียนที่ถูกรับในรอบ Early Decision จะกลายเป็น 30% - 40%!

 

ส่วน Early Action เหมือน Early Decision ทุกอย่าง แค่ว่าข้อบังคับน้อยกว่าเท่านั้น Early Action ก็เลยดูจะเป็นรอบที่น่าสนใจกว่าสำหรับนักเรียนหลายๆ คน เหตุผลหลัก ที่น้องๆ เลือก Early Action กันก็คือ เรื่อง financial aid/การขอทุน เพราะน้องสามารถสมัครขอทุน กับหลายๆ สถาบันได้ น้องมีโอกาสเลือกรับทุนของมหาวิทยาลัย ที่ให้ทุนน่าสนใจที่สุด แต่กลับกัน หากน้องสมัคร Early Decision น้องอาจต้องแลกกับการรับทุนน้อย หรือ ไม่ได้รับทุนเลย แทนที่จะรับทุนที่น่าสนใจกว่าจากสถาบันอื่น

 

ดังนั้น Bottom line ก็คือ ถ้าน้องมั่นใจใน application ของตัวเอง มั่นใจในคะแนน SAT/ACT มั่นใจใน College Essay มั่นใจว่าตัวเองคือ best fit กับสถาบันที่ต้องการ และ ไม่มีปัญหาเรื่องทุนทรัพย์ ยื่นรอบ Early Decision เลย! แต่ถ้าอยากลองขอทุนจากหลายๆ ที่ ยังไม่มั่นใจ ว่าตัวเองคือ best fit ยังอยากสมัครเผื่อไว้หลายๆ สถาบัน Early Action กับ Regular Decision คือคำตอบ


 

What does it mean to be deferred?/ Deferred คืออะไร?

อย่างแรก คือ “Deferred” ไม่ได้หมายความว่าน้องถูกปฏิเสธ หากน้องสมัครรอบ Early Decision แล้วถูก Deferred นั่นหมายถึง ใบสมัครของน้องถูกเลื่อนไปอยู่รอบ Regular Decision แทน! ซึ่งนี่คือโอกาส! Deferred เป็นสัญญาณบอกว่า Application ของน้องมันดี! Admission committee จะอ่าน application ของน้องอีกครั้ง ในอีกไม่เกิน 2 เดือน


ถ้าน้องได้รับการ deferred ต้องทำยังไง?

Admission committee ได้เปิดโอกาสรอบ 2 ให้กับน้องแล้ว ดังนั้น take it! ทำอะไรให้ดีขึ้นได้ ทำเลย! ไม่ว่าจะเป็น การทำ transcript และ GPA ให้สูงขึ้น การสอบ Standardized test (Digital SAT/ACT) อีกสักครั้ง เพื่ออัพคะแนนให้สูงขึ้น การทำ extracurricular activities เพิ่มเติม อะไรก็ได้ที่ทำให้น้อง shine อีกครั้ง!

 

หลังจากอ่าน Blog นี้แล้ว พี่ๆ KPH หวังว่าน้องจะเห็นภาพ Timeline การสมัครเข้า TOP US University/ IVY League กันไม่มากก็น้อย หวังว่าน้องๆ จะสามารถวาง strategy ใช้ช่องทางเหล่านี้ทำให้ตัวเองมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าคนอื่น ให้ตัวเองมีโอกาสติดสูงสุด


ซึ่งพี่ๆรู้ดีว่าการเตรียมตัวเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย พี่ๆ KPH จึงออกแบบคอร์สเรียนที่จะมาช่วยให้แต่ละ step ของการสมัครเข้า TOP US university เป็นเรื่องง่าย มีคนคอยดูแลอยู่ข้างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียน AP ที่จะมาช่วยให้ transcript ของน้อง strong หรือ คอร์ส SAT/ACT ที่จะทำให้น้องโดดเด่นด้านวิชาการ คอร์ส College Essay ที่จะทำให้น้องโดดเด่นนอกห้องเรียน หรือ Interview ที่จะทำให้น้องโดดเด่นในห้องสัมภาษณ์ KPH มุ่งมั่นตั้งใจ ทำให้การสมัครครั้งนี้ You stand out!


ดูรายละเอียดคอร์สเรียน SAT ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน ACT ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน IELTS ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน AP ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน College Essay ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน Interview ได้ที่ page นี้


ติดต่อสอบถามรายละเอียดคอร์สเรียนได้ที่นี่

Call : 064-954-7733

Line OA : @krupimhouse

Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
  • Line
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
bottom of page