top of page

College Admission 101 : Inside the Admissions Office

ขั้นตอนการสมัครเข้า TOP US University มี 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

  1. เตรียม Grade (GPA) และ High School Trascript ให้ strong

  2. เตรียมคะแนน Standardized Test (Digital SAT และ ACT)

  3. เตรียมคะแนน IELTS/TOEFL

  4. เตรียม Extracurricular Activities

  5. เตรียมเอกสารให้พร้อมกับ Application Process ไม่ว่าจะเป็น College Essay, Letters of Recommendation, Supplemental Materials, และ Interview

แต่น้องๆ เคยสงสัยกันมั้ยว่า หลังจากที่น้องกดส่ง application และ เอกสารต่างๆ ไปแล้ว แล้วยังไงต่อ? ใน Blog เราจะมาดูเบื้องหลัง review process กัน ใครเป็นคนอ่านใบสมัครของน้อง ทีมคณะกรรมการตัดสินใจอย่างไร และ step ถัดไปคืออะไร


Inside the Admissions office
Inside the Admissions Office

 

What are my chances of getting into my dream school?

น้องมีโอกาสติดสูงมากน้อยแค่ไหน ต้องดูว่า เมื่อเทียบกับ applicants คนอื่นแล้ว น้องสู้ได้มั้ย? above average หรือเปล่า? ดังนั้น ต้อง research มาตรฐานของสถาบันนั้นๆ ให้เยอะๆ  ดูคะแนน GPA, SAT/ACT และ ความ strong ของ transcript ของรุ่นก่อนๆ ซึ่งหลายๆสถาบันจะใส่ข้อมูลเหล่านี้ลงในเว็บไซต์ น้องๆ เข้าไปในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้โดยตรงเลย


อีกอย่างที่ต้องสนใจคือ acceptance rate หรือ เปอร์เซ็นต์ของผู้สมัครทั้งหมดที่ติด คำนวณได้จากการ นำจำนวนผู้ที่ติด หารด้วย จำนวนผู้สมัครทั้งหมด และคูณ 100 หากตัวเลขยิ่งสูง ยิ่งดี นั่นหมายถึง มีโอกาสที่น้องจะติดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น acceptance rate 50% หมายถึง จากผู้สมัคร 100 คน ติด 50 คน ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่ดีมากๆ คือ 1 : 2 ทุกๆ ผู้สมัคร 2 คน จะติด 1 คน

 

  • สมมติ acceptance rate ของมหาวิทยาลัยหนึ่ง เท่ากับ 50% และ เกรด, คะแนน SAT/ACT ของน้อง พอๆ กับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยนั้น เล็งๆ ไว้ว่ามหาวิทยาลัยนี้ มี “โอกาสติดสูง”

  • สมมติ acceptance rate ของมหาวิทยาลัยหนึ่ง อยู่ในช่วง 35% - 40% นั่นแปลว่า มหาวิทยาลัยนี้มีการแข่งขันค่อนไปทางสูง น้องควรจะทำ เกรด และ คะแนน SAT/ACT ให้สูงกว่ามาตรฐานของสถาบันเล็กน้อย ถึงจะสามารถเล็งๆ มหาวิทยาลัยนี้ได้ มั่นใจขึ้น

  • สมมติ acceptance rate ของมหาวิทยาลัยหนึ่ง น้อยกว่า 20% นั่นแปลว่า การแข่งขันสูงมากกกกกกก


นี่เป็นเพียงการสมมติให้น้องเห็นภาพ และสามารถวางแผนได้ว่า ควร target คะแนนของตัวเองที่เท่าไหร่ ถึงจะมีโอกาสติด อย่างไรก็ตาม หลายๆ สถาบัน ไม่ได้พิจารณาเพียงเกรดและคะแนนสอบเท่านั้น แต่ยังพิจารณาในส่วนของ Extracurricular activities, College Essays, Letters of recommendation, และ Interview ทั้งหมดนี้คือปัจจัยอื่นที่จะมีผลต่อ application ของน้องด้วยเช่นกัน

 

How are my application materials reviewed?

หลังจากที่ใบสมัครของน้องถูกส่งไปยัง admission office แล้ว เกิดอะไรขึ้นในห้องนั้น? ยากที่จะตอบ เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละที่ ก็มีวิธีการพิจารณาเป็นของตัวเอง บางสถาบันแค่น้องมีเอกสารครบ คะแนนทุกอย่างผ่านเกณฑ์ ก็ติด บางสถาบันจะพิจารณาไปที่ตัวบุคคลด้วย โดยใช้ใบสมัคร และเอกสารที่แนบมา เพื่อดูว่าตัวตนของน้องเป็นอย่างไร และ น้องจะเอาคุณสมบัติอะไรมาให้กับสถาบัน


สมมติมีใบสมัครของนักเรียนคนนึง กรรมการส่วนใหญ่จะเริ่มจากการดูว่า transcript ของน้อง strong แค่ไหน ได้เกรดเท่าไหร่ และ คะแนนสอบ SAT/ACT เป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะไปดูต่อที่ College Essay, Lettes of recommendation และ Extracurricular activities ในระหว่างนี้ กรรมการแต่ละท่านอาจจะมีการ take notes หรือ comment เพื่อสรุปจุดเด่น จุดอ่อน หรือ อะไรก็ตามที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวน้อง


ขอย้ำคำว่า “กรรมการแต่ละท่าน” นั่นแปลว่า กรรมการไม่ได้มีคนเดียว คำถามคือ แล้วคนไหนคือคนตัดสิน? Comment ที่น่าจะมีน้ำหนักมากที่สุด คือ comment จาก “กรรมการคนแรก” เพราะ comment จากคนแรก อาจมีผลต่อ comment ของคนถัดไป! ดังนั้น คนแรก หินสุด!


ใบสมัครของบางคนก็ได้รับการ say yes ทันที บางคนก็อาจถูกส่งต่อไปให้กรรมการอาวุโสกว่า ถ้าใบสมัครของน้องถูกส่งต่อ แสดงว่ามันต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนในทีมกรรมการ ที่อยากจะรับน้องเข้า แต่กรรมการคนอื่นเค้าก็มีคนที่เค้าอยากได้เหมือนกันไง เช่น กรรมการ 1 อยากได้น้อง A แต่กรรมการ 2 อยากได้น้อง B แต่ประเด็นคือ ที่นั่งมันจำกัด มันจะรับทุกคนก็ไม่ได้ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของกรรมการแต่ละคนต้อง fight ให้ candidate ที่ตัวเองชอบ ติด! They will fight for you!

 

What is the most important thing admission officers look for in an application?

สำคัญสุด คือ เกรด! และ Transcript! 2 สิ่งนี้มีน้ำหนักมากที่สุด เพราะ 2 สิ่งนี้เป็นตัวตอบคำถาม ว่าน้อง Challenge ตัวเองด้านวิชาการระหว่างช่วง High School มากน้อยแค่ไหน? น้อง Challenge ตัวเองด้วยคอร์สปกติ หรือ คอร์สที่มีความยาก? น้องลงเรียน AP class มั้ย?


อย่างไรก็ตาม admission officer แค่ต้องการหลักฐานว่าน้องตั้งใจและพร้อมที่จะ ยกระดับ ไปสู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้นและยากขึ้น หลักฐานที่เป็นตัวบอกว่า น้องจะทำได้ดีใน College


“Never underestimate the importance of your high school transcript in the college admission process”

อย่างไรก็ตาม แค่ลงเรียน/สอบ วิชา AP ยากๆ เฉยๆ ก็ไม่พอ น้องต้องทำคะแนนได้ดีด้วย ซึ่งหลายคนก็จะมีคำถามตามมาทันทีว่า “ระหว่างเลือกเรียนวิชาง่ายได้เกรดดี กับ วิชายากได้เกรดกลางๆ แบบไหนดีกว่ากัน” ก็น่าจะเดาไม่ยากว่าแบบหลังดีกว่า คือ เลือกเรียนวิชายาก แต่เกรดกลางๆ เพราะว่า ตัวเลขเกรด GPA ไม่ใช่ทุกอย่าง ไม่จำเป็นเสมอไปที่ ตัวเลขเกรด ต่ำ แล้วทุกอย่างจะจบ admission committee เค้าพิจารณาลึกซึ้งกว่านั้น


สิ่งที่สำคัญตามมาคือ SAT และ ACT


 

Do admission officers look at students' social media account?

admission officers ดู social media ของน้องๆหรือไม่? ตอบเลยว่า ดู! อะไรก็ตามที่น้องแชร์ โพสต์ลงใน social media account แสดงถึงตัวตนของน้องได้เช่นกัน คำถามคือ แล้วน้องๆ ควรทำอย่างไร ให้เรา shine บนโลก online พี่ๆ KPH รวบรวม วิธีการมาให้แล้ว

  • สร้าง account linkin - linkin คือแหล่งสร้าง network ในระดับ professional แสดงให้เห็นว่าน้องมีความตั้งใจ และเอาจริงเอาจัง กับการอนาคต ใช้ LinkIn ในการสร้าง connection กับ professors, employers, colleages น้องสามารถใส่ account linkin ลงไปในใบสมัครของน้องได้ เพื่อให้ admission officers เข้าไปดู

  • follow pages run by the school - ติดตามเพจของทางสถาบัน หรือ มหาวิทยาลัยที่น้องสนใจ comment ตั้งคำถาม เข้าร่วม event แชร์ข้อมูล เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราอยาก engage กับสถาบัน ทำให้ภาพลักษณ์ Digital Footprint ของน้องดีขึ้น

  • Post your success - โพสต์ความสำเร็จของน้องลงไป เผื่อมี admission team มาเห็น ลองแปะ link ไปบน website portfolio ของตัวเอง หรือ แปะ link ไปที่บทความที่น้องเคยเขียนและ publish สร้าง blog ที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจของตัวเอง แบบนี้เป็นต้น


สรุปประเด็นหลักๆ ก็คือ Social Media เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้น้องแสดงความเป็นตัวเองออกมา ให้กับ admission officers เห็น โชว์ในสิ่งที่ GPA และ คะแนน SAT/ACT ไม่สามารถแสดงออกมาได้ ถึงแม้ ใน process การตัดสินใจของ admission team จะไม่ใช่การมานั่งอ่าน twitter feed ของน้อง แต่ก็เผื่อไว้หน่อย ว่าอาจะมีหนึ่งในคระกรรมการที่สนใจในตัวน้อง และอยากรู้จักตัวตนของน้องมากกว่านี้ผ่าน social media


 

Is the admission process different for international students?

ขั้นตอนการสมัคร ระหว่างเด็ก US กับเด็กนานาชาติ อย่างเด็กไทยแบบเรา ต่างกันมั้ย? หนึ่งสิ่งที่ต่างกันแน่นอน คือ คะแนน English Language Profiency เช่น TOEFL หรือ IELTS


Admission officers ต้องการรู้ว่าน้องจะเรียนรู้เรื่องมั้ย ถ้าต้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ใช่ภาษาแรกของน้อง ดังนั้น สำหรับนักเรียนต่างชาติแบบเราๆ แล้ว College Essay จะยิ่งมีบทบาทสำคัญกว่าเดิม เพราะ essay เป็นตัวแสดงความสามารถด้านภาษาด้วย


นอกเหนือจากนี้ process จะคล้ายๆ กัน “เกรด, คะแนน SAT/ACT และ ความ strong ของ transcript” ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ


อย่างไรก็ตาม acceptance rate สำหรับนักเรียนต่างชาติ ต่ำกว่า นักเรียน US แต่ละสถาบันก็มี percent ต่างๆ กันไป ยิ่งถ้าเป็น public university  ด้วยละก็ percent จะยิ่งต่ำ ลงไปอีก ดังนั้น การ research ข้อมูลการรับนักศึกษาต่างชาติ จึงสำคัญมากๆ

 

หลังจากอ่าน Blog นี้แล้ว พี่ๆ KPH หวังว่าน้องจะเห็นภาพ ว่า Application ของน้อง จะได้รับการ review อย่างไร และอะไรที่สำคัญที่สุด เพื่อให้น้องวางแผน สร้าง application ของตัวเองให้โดดเด่น กลายเป็น masterpiece ซึ่งพี่ๆรู้ดีว่าการเตรียมตัวเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย พี่ๆ KPH จึงออกแบบคอร์สเรียนที่จะมาช่วยให้แต่ละ step ของการสมัครเข้า TOP US university เป็นเรื่องง่าย มีคนคอยดูแลอยู่ข้างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียน AP ที่จะมาช่วยให้ transcript ของน้อง strong หรือ คอร์ส SAT/ACT ที่จะทำให้น้องโดดเด่นด้านวิชาการ คอร์ส College Essay ที่จะทำให้น้องโดดเด่นนอกห้องเรียน หรือ Interview ที่จะทำให้น้องโดดเด่นในห้องสัมภาษณ์ KPH มุ่งมั่นตั้งใจ ทำให้การสมัครครั้งนี้ You stand out!


ดูรายละเอียดคอร์สเรียน SAT ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน ACT ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน IELTS ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน College Essay ได้ที่ page นี้

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน Interview ได้ที่ page นี้


ติดต่อสอบถามรายละเอียดคอร์สเรียนได้ที่นี่

Call : 064-954-7733

Line OA : @krupimhouse

Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
  • Line
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
bottom of page